ขับเคลื่อนโดย Blogger.
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ร่างกายอ่อนแอระวัง "หัวฝักบัว" แหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียก่อโรคปอด


ภาพตัวอย่างหัวฟักบัวจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ซึ่งมีแบคทีเรียสะสมมากกมาย

ระวังกันหน่อยนะ ขอรับ โรคประหลาดมันมาฝังตัวในที่เราต้องใช้ทุกวัน โฮ......เวรกรรม
นักวิจัยสหรัฐฯ สำรวจตัวอย่างหัวฝักบัว พบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปอด อันตรายต่อผู้มีพันธุกรรมและภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนผู้มีร่างกายแข็งแรงไม่ต้องกังวล

นักวิจัยมหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado) สหรัฐฯ ซึ่งนำโดย นอร์แมน อาร์ เพซ (Norman R. Pace) ได้ทดสอบ ฝักบัว 45 ตัวอย่าง จาก 5 มลรัฐในสหรัฐฯ แล้วพบว่าฟักบัวเหล่านั้นอาจเป็นแหล่งซุกซ่อนแบคทีเรีย ที่จะไหลตามสายน้ำลงมาสู่ใบหน้าและร่างกายเราได้

สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติแล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลมากนัก ยกเว้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ เอดส์ และผู้บำบัดมะเร็ง หรือผู้ที่เพิ่งปลูกถ่ายอวัยวะ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ ตีพิมพ์ในวารสารโพรซีดิงส์ออฟเดอะเนชันนัลอคาเดมีออฟไซน์ (Proceedings of the National Academy of Sciences)

ทั้งนี้ แบคทีเรียเจ้าปัญหาดังกล่าวคือ มายโคแบคเทอเรียมเอเวียม (Mycobacterium avium) หรือเอ็มเอวียม (M. avium) ซึ่งนำไปสู่โรคปอดในบางคน โดยเอพีระบุข้อมูลจากเพซว่า จากการศึกษาของเนชันนัลยิวอิชฮอสพิทัล (National Jewish Hospital) ในเดนเวอร์ ชี้ว่าจำนวนผู้ป่วยในสหรัฐฯ ซึ่งติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ที่ปอดช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมานั้น สัมพันธ์กับผู้คนที่ชอบอาบน้ำฝักบัวมากกว่าอาบน้ำในอ่าง โดยอาการติดเชื้อมีทั้งอาการเหนื่อย ไอแห้ง หายใจลำบากเรื้อรัง

ทีม วิจัยแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงจากแบคทีเรียเหล่านี้ ด้วยการใช้ฝักบัวโลหะ เนื่องจากจุลินทรีย์เติบโตในวัสดุประเภทนี้ได้ยาก อีกทั้งฝักบัวเอง ยังเต็มไปซอกหลืบที่ยากต่อการทำความสะอาด และแบคทีเรียจะกลับมาใหม่ แม้จะใช้น้ำยาขัดล้างแล้วก็ตาม

ด้าน ลอรา เค บวมการ์ทเนอร์ (Laura K. Baumgartner) ผู้ร่วมมิจัยกล่าวเสริมว่า การอาบน้ำในอ่างนั้น จะกระจายเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว สู่อากาศได้มากเท่ากับการอาบน้ำด้วยฝักบัว ซึ่งกระจายเชื้อจุลินทรีย์ให้อยู่ในรูปละอองฝอยที่ง่ายต่อการสูดหายใจเข้า ปอด ร่างกายไม่แข็งแรงและรู้สึกแย่

ตัวอย่างฝักบัวที่ทีมวิจัยสุ่มสำรวจนั้นมาจากอาคารบ้านพัก อพาร์ทเม็นท์ และสถานที่สาธารณะในนิวยอร์ก อิลลินอยส์ โคโลราโด เทนเนสซี และนอร์ธดาโกตา โดยพวกเขาได้เก็บตัวอย่างน้ำที่ไหลออกจากฝักบัว จากนั้นแยกหัวฝักบัวออก แล้วทำความสะอาดอุปกรณ์ภายใน

จากนั้นเก็บตัวอย่างน้ำที่ไหลผ่านท่อโดยไม่มีฝักบัว และจากการศึกษาดีเอ็นเอของตัวอย่าง ทีมวิจัยสามารถจำแนกได้ว่ามีแบคทีเรียชนิดใดอยู่ และยังพบว่าแบคทีเรียมีแนวโน้มที่จะสะสมอยู่ในหัวฝักบัวมากกว่าบริเวณอื่น

อย่างไรก็ดีตัวอย่างน้ำส่วนใหญ่ที่สำรวจนั้น มาจากระบบน้ำในเขตปกครองของเมืองใหญ่ๆ อย่างนครนิวยอร์กและเดนเวอร์ แต่ทีมวิจัยก็ยังศึกษาตัวอย่างจากบ้านในชนบท ซึ่งได้รับจ่ายน้ำจากแหล่งน้ำส่วนตัว พบว่าไม่มีแบคทีเรียเอ็มเอเวียมอยู่ในหัวฝักบัว แต่พบแบคทีเรียชนิดอื่นอยู่แทน

ในการศึกษาอื่นๆ ก่อนหน้านี้ทีมวิจัยของเพซยังพบแบคทีเรียเอ็มเอเวียมในผ้าม่านพลาสติกไวนีล ในห้องน้ำ และบนผิวน้ำของสระบำบัดร้อน และยังมีการศึกษาอื่นๆ อาทิ การวิเคราะห์อากาศในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของนิวยอร์ก ห้องโถงในโรงพยาบาล อาคารสำนักงานและสถานสงเคราะห์คนไร้บ้าน โดยรับทุนวิจัยจากมูลนิธิอัลเฟรด พี สโลน (Alfred P. Sloan Foundation) และสถาบันเพื่อความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพของสหรัฐฯ (National Institute of Occupational Safety and Health)

ด้าน โจเซฟ โอ ฟอลคินแฮม (Joseph O. Falkinham) นักจุลชีววิทยาจากเวอร์จิเนียเทค (Virginia Tech) ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยนี้ ยินดีกับการค้นพบนี้ และกล่าวว่าแบคทีเรียเอ็มเอเวียมก่อให้เกิดอันตรายได้เพราะการอาบน้ำฟักบัว นั้นแบคทีเรียจะถุกทำให้ฟุ้งกระจายในอากาศซึ่งเราสามารถสูดเข้าปอดได้

ฟอลคินแฮมยังเพิ่มเติมว่า โดยตัวแบคทีเรียเอ็มเอเวียมนั้นไม่ก่อให้เกิดโรค แต่สำหรับผู้ที่มียีนก่อโรค "ซิสติกไฟโบรซิส" (cystic fibrosis) หรือ "ซีเอฟ" ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคที่ปอดและทางเดินอาหารนั้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ไปตามอายุที่มาก ขึ้น.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น